วิสัยทัศน์/ยุทธศาสตร์-2

  • รู้จักเทศบาลเชียงม่วน
  • โครงสร้างเทศบาล
  • อำนาจหน้าที่ของเทศบาล
  • วิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์
  • ติดต่อเทศบาล
  • คณะผู้บริหาร
  • สมาชิกสภาเทศบาล
  • ทำเนียบประธานสภา
  • รายงานกิจการสภา
  • ข่าวประชาสัมพันธุ์
  • ศูนย์ดำรงธรรม
  • กองทุนหลักประกันสุขภาพ
  • จดหมายข่าว
  • ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
  • ภาพกิจกรรม
  • วีดีทัศน์
  • แบบสอบถามความพึงพอใจ
  • ผลิตภัณฑ์ตำบล
  • ข่าวเด่น
  • เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
  • เบี้ยยังชีพผู้พิการ
  • ข้อมูลสถิติเทศบาล
  • ข้อมูลการดำเนินงาน
  • ข้อมูลงบประมาณ
  • การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคลากร
  • กฏหมายที่เกี่ยวข้อง
  • คู่มือสาธารณะ
  • แผนจัดซื้อจัดจ้างหรืแผนหาพัสดุ
  • ประกาศราคากลาง
  • ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง
  • ประกาศผู้ชนะการเสนอราคา
  • ประกาศผลผู้ชนะการจัดซื้อจัดจ้างหรือผู้ได้รับการคัดเลือก(รายไตรมาส)
  • สรุปผลการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุรายเดือน(สขร.1)
  • รายงานผลการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุประจำปี
  • ประกาศขายทอดตลาด

วิสัยทัศน์/ยุทธศาสตร์

วิสัยทัศน์/ยุทธศาสตร์ การพัฒนาเทศบาลฯ

ยุทธศาสตร์การพัฒนาและแผนพัฒนา 3 ปี (พ.ศ.2558 – 2560) ของเทศบาลตำบลเชียงม่วน

     การจัดทำแผนพัฒนาของเทศบาลตำบลเชียงม่วน  จะต้องมีการเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ยุทธศาสตร์ แนวทางการพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดพะยา  ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับแนวคิดการพัฒนาทุกๆ ด้าน ทั้งยุทธศาสตร์ของประเทศ  แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559) นโยบายของรัฐบาล ยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน  และยุทธศาสตร์จังหวัดพะเยาและยุทธศาสตร์อำเภอเชียงม่วน ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
วิสัยทัศน์การพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลเชียงม่วน
     ““ชุมชนเข้มแข็ง  เมืองน่าอยู่  พร้อมสู่ประชาคมอาเซียน”    

วิสัยทัศน์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพะยา
“ ท้องถิ่นเข้มแข็ง  แหล่งผลิตเกษตรปลอดภัย  พร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ”

ยุทธศาสตร์การพัฒนาของเทศบาลตำบลเชียงม่วน (พ.ศ.2558 – 2560)
(ยุทธศาสตร์ร่วมแบบบูรณาการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดพะเยา พ.ศ.2558-2560)

ยุทธศาสตร์ที่ 1  พัฒนาเศรษฐกิจ
            ให้ความสำคัญกับการพัฒนาอาชีพ ผลิตภัณฑ์ชุมชน  ประสิทธิภาพและคุณภาพผลผลิตทั้งด้านเกษตรกรรม
และอุตสาหกรรม  เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทั้งด้านการพัฒนาปัจจัยการผลิต การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน  เพื่อยกระดับรายได้ของคนในชุมชน  ส่งเสริมการวางแผนการผลิตสินค้าชุมชนให้มีคุณภาพ  การเพิ่มพูนความรู้  ทักษะฝีมือ  รวมทั้ง ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการท่องเที่ยว  และภาคบริการ  ให้มีคุณภาพมาตรฐาน  เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย มากยิ่งขึ้น
แนวทางการพัฒนา
1. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงและสนับสนุนด้านเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและการลงทุน
2. การพัฒนาแหล่งน้ำและการบริหารจัดการน้ำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้านการเกษตร
3. พัฒนา สนับสนุนและการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว กิจกรรมด้านท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
4. การพัฒนาองค์ความรู้ เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าทางการเกษตรและเพิ่มศักยภาพการประกอบอาชีพ

ยุทธศาสตร์ที่ 2   การพัฒนาสังคม การศึกษาและวัฒนธรรม
ให้ความสำคัญในการให้บริการสาธารณะทางสังคมขั้นพื้นฐาน  การพัฒนาคน และสังคมที่มีคุณภาพ มีความมั่นคง ในชีวิต  มุ่งดำเนินการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ทั้งด้านเทคนิค  อุปกรณ์  บุคลากร รวมทั้งการส่งเสริม การเรียนรู้ตลอดชีวิต  ตลอดจนให้ความสำคัญในเรื่องสุขภาพอนามัยของประชาชน  การพัฒนาคุณภาพการบริการสาธารณสุข  การเฝ้าระวัง และการควบคุมโรค นอกจากนี้ยังส่งเสริมและสนับสนุนการฟื้นฟู สืบสาน   คุณค่าความหลากหลาย  ทางศิลปวัฒนธรรม  ประเพณี  และภูมิปัญญาท้องถิ่นการสร้างหลักประกันความมั่นคงและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์  ควบคู่ไปกับการจัด สวัสดิการทางสังคมแก่ผู้สูงอายุ  ผู้พิการ  และผู้ด้อยโอกาส  ให้สามารถอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข และเสมอภาคกัน
แนวทางการพัฒนา
1.การพัฒนาศักยภาพทุนทางสังคมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2. การอนุรักษ์และส่งเสริมวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น
3. การส่งเสริมและสร้างองค์ความรู้ องค์กรชุมชนหรือภาคประชาชนให้มีความเข้มแข็ง เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
4. ส่งเสริมการจัดการศึกษาทุกระดับ เพื่อพัฒนาคนในชุมชนและท้องถิ่น
5. การส่งเสริมและแก้ไขปัญหาทางสังคม
6. การส่งเสริมและแก้ไขปัญหาด้านสาธารณสุข
7. ส่งเสริมและสนับสนุนระบบการจัดสวัสดิการประชาชนกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเสริมสร้างหลักประกันความมั่นคง
8. ส่งเสริมประชากรภาครัฐและประชาชนให้มีทักษะด้านภาษาต่างประเทศและเพิ่มทักษะการประกอบ อาชีพ ด้านสังคม     เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

ยุทธศาสตร์ที่ 3  ด้านบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
          ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์  ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ  ในท้องถิ่นให้คงอยู่อย่างยั่งยืน  โดยยึดหลักการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการ สร้างกลไกการใช้ประโยชน์ร่วมกันและป้องกัน  หรือลดข้อขัดแย้งในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ  พัฒนา และนำทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นมาใช้เป็นฐานการผลิต รวมทั้ง  การดูแล เฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมชุมชน  ให้มีคุณภาพไม่ก่อให้เกิดมลภาวะ 

แนวทางการพัฒนา
1. การอนุรักษ์ และการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อการดำรงชีวิต
2. พัฒนาศักยภาพชุมชน เพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ยุทธศาสตร์ที่ 4  ด้านความมั่นคงและการรักษาความสงบเรียบร้อย
          ให้ความสำคัญกับการสร้างความสามัคคี  สมานฉันท์  กับประชาชนทุกหมู่เหล่า พัฒนาและเสริมสร้างเครือข่าย ความร่วมมือทุกภาคส่วน  พัฒนาส่งเสริม  และสนับสนุนให้มีการจัดระบบป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  ที่มีประสิทธิภาพ  เพื่อสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนและชุมชน  โดยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา รวมทั้ง พัฒนาระบบการบริหารจัดการในพื้นที่หมู่บ้านชายแดน  เพื่อสร้างความมั่นคงของประเทศ 
แนวทางการพัฒนา
1. การพัฒนาศักยภาพด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
2. การเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับปัญหาภัยธรรมชาติ
3. การเสริมสร้างความปรองดองและสมานฉันท์ของคนในชาติ

ยุทธศาสตร์ที่  5 ด้านส่งเสริมการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ
          เน้นในด้านการบริหารงานองค์กรให้มีประสิทธิภาพ  มีความพร้อมทั้งด้านอุปกรณ์  และบุคลากร ที่มีความสามารถ  มีคุณธรรม  จริยธรรม  ในการปฏิบัติงาน  เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนมีความคุ้มค่า  โปร่งใส  และเป็นธรรม  ประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินนโยบายสาธารณะ สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างภาครัฐกับประชาชน  การปรับเปลี่ยน วัฒนธรรมการทำงาน
แนวทางการพัฒนา
1. การบริหารจัดการองค์กร ตามหลักธรรมาภิบาล
2. การส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างเวทีเรียนรู้ภาคประชาสังคมและการมีส่วนร่วมของ อปท. และทุกภาคส่วนในการ     พัฒนาท้องถิ่น
3. การพัฒนาสมรรถนะของบุคลากร เพื่อการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ

ที่อยู่ : สำนักงานเทศบาลตำบลเชียงม่วน

เลขที่ 397 หมู่ที่ 1 ต.บ้านมาง อ.เชียงม่วน จังหวัดพะเยา

โทรศัพท์/โทรสาร 054-495110