เทศบาลตำบลเชียงม่วน ต้อนรับคณะกรรมาธิการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา
วันพฤหัสบดีที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2566 เวลา 10.00 น.
นายสุเมธี คำลือ นายกเทศมนตรีตำบลเชียงม่วน
พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร หัวหน้าส่วนราชการ และเจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลเชียงม่วน ร่วมต้อนรับคณะกรรมาธิการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา นำโดย นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ ประธานคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำวุฒิสภา และว่าที่ร้อยตรี ณรงค์ โรจนโสธร ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา
ลงพื้นที่ตำบลเชียงม่วน ทั้งนี้ นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ ประธานคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำวุฒิสภาฝายแกนดินซีเมนต์ ยืนยันว่าฝายแกนดินซีเมนต์ มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการเก็บกักน้ำได้เป็นอย่างดี ผู้ว่าฯพะเยา ชื่นชม ฝ่ายแกนดินซีเมนต์ มาแก้ปัญหาน้ำแล้งน้ำท่วม แก้ปัญหาความยากจนให้กับประชาชนในพื้นที่ได้จริง.. เกษตรอำเภอ ชี้ชัด มูลค่าผลผลิตเพียงฤดูกาลเดียว ประมาณ 1.2 ล้านบาท คุ้มราคาฝาย 4 ตัว
ทั้งนี้ นายการุณย์ มะโนใจ เกษตรอำเภอเชียงม่วน รายงานต่อ นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ ประธานคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำวุฒิสภา และว่าที่ร้อยตรี ณรงค์ โรจนโสธร ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา ว่า ‘พื้นที่ที่ได้รับประโยชน์และพื้นที่ทางการเกษตรของทั้ง 4 ฝ่ายดังกล่าวข้างต้นป ระมาณ 410 ไร่ มีผลผลิตพืชผลทางการเกษตร เช่น การทำนาปลูกข้าว ข้าวโพด สวนลำไย ไผ่ และใบยาสูบ รวมมูลค่าผลผลิตเพียงฤดูกาลเดียวประมาณ 1.2 ล้านบาท พอ ๆ กับงบประมาณในการสร้างฝายแกนดินซีเมนต์ทั้ง 4 ฝ่ายดังกล่าว’
รายงานข่าวแจ้งว่าการประชุมดังกล่าว เป็นการประชุมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและร่วมเสวนาระหว่าง ประธานคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภาและคณะของผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา ผู้บริหารเทศบาลตำบลเชียงม่วนและผู้เกี่ยวข้องในท้องถิ่นและท้องที่ โดยพิจารณาถึงผลสัมฤทธิ์ความพึงพอใจของประชาชนต่อรูปแบบและแนวทางการบริหารจัดการแหล่งน้ำขนาดเล็กของเทศบาลตำบลเชียงม่วนอำเภอเชียงม่วนจังหวัดพะเยาเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2566 เวลา 10:00 น.
นายสังศิต กล่าวต่อที่ประชุมว่า ‘คณะกรรมาธิการได้เล็งเห็นความสำคัญของการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในพื้นที่การเกษตรร้อยละ 78 ของทั้งประเทศที่ไม่มีระบบชลประทาน จึงได้ค้นหานวัตกรรมที่จะมาแก้ไขปัญหาดังกล่าว จนได้ค้นพบนวัตกรรมฝ่ายแกนดินซีเมนต์ ซึ่งมีความคงทน มีต้นทุนในการสร้างไม่แตกต่างจากฝ่ายชั่วคราวชนิดอื่น ๆ อีกทั้งยังมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการเก็บกักน้ำได้เป็นอย่างดี’
ว่าที่ร้อยตรี ณรงค์ โรจนโสธร ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยากล่าวต่อที่ประชุมว่า ตนรู้จักฝทนแกนดินซีเมนต์มาตั้งแต่เมื่อ 2-3 ปีก่อน สมัยที่เป็นผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย เขตภาคเหนือ ในวันนี้ในฐานะที่เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา เห็นว่าทางเทศบาลตำบลเชียงม่วนประสบความสำเร็จในการใช้นวัตกรรมฝ่ายแกนดินซีเมนต์ มาใช้แก้ปัญหาน้ำแล้งน้ำท่วม และแก้ปัญหาความยากจนให้กับประชาชนในพื้นที่ได้เป็นผลสำเร็จ จึงเข้ามาศึกษา เพื่อที่จะนำรูปแบบดังกล่าวไปปรับใช้เพื่อแก้ปัญหาให้ครอบคลุมทั้งจังหวัด
นายสุเมธี คำลือ นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลเชียงม่วน ได้กล่าวรายงานผลการสร้างฝายแกนดินซีเมนต์ และประโยชน์ที่ได้รับจากฝายแกนดินซีเมนต์ โดยเฉพาะในลำน้ำปี้ที่ขณะนี้มีการสร้างฝายแกนดินซีเมนต์ 4 ฝายดังนี้
1. ฝายแกนดินซีเมนต์ลำน้ำปี้ ท่าน้ำวัดหลวง
ขนาดความกว้าง 26 เมตร สูง 1.5 เมตร
สามารถบรรจุน้ำทั้งบนดินและใต้ดินได้ไม่น้อยกว่า 39,000 ลูกบาศก์เมตร
มีพื้นที่ที่ได้รับประโยชน์และพื้นที่ทางการเกษตร 56 ไร่
มีครัวเรือนที่ใช้น้ำในการอุปโภคบริโภคและการเกษตร ประมาณ 300 ครัวเรือน
2. ฝายแกนดินซีเมนต์ลำน้ำปี้ บ้านป่าซางคำ
ขนาดความกว้าง 21 เมตร สูง 1.5 เมตร
สามารถบรรจุน้ำทั้งบนดินและใต้ดินได้ไม่น้อยกว่า 31,500 ลูกบาศก์เมตร
มีพื้นที่ได้รับประโยชน์และพื้นที่ทางการเกษตร 101 ไร่
มีครัวเรือนที่ใช้น้ำในการอุปโภคบริโภคและการเกษตร ประมาณ 134 ครัวเรือน
3. ฝายแกนดินซีเมนต์ลำน้ำปี้ บ้านท่าม่าน
ขนาดความกว้าง 21 เมตร สูง 1 เมตร
สามารถบรรจุน้ำทั้งบนดินและใต้ดินได้ไม่น้อยกว่า 21,000 ลูกบาศก์เมตร
มีพื้นที่ได้รับประโยชน์และพื้นที่ทางการเกษตร 130 ไร่
มีครัวเรือนที่ใช้น้ำในการอุปโภคบริโภคและการเกษตร ประมาณ 248 ครัวเรือน
4. ฝายแกนดินซีเมนต์ลำน้ำปี้ บ้านแพทย์
ขนาดความกว้าง 21 เมตร สูง 1.8 เมตร
สามารถบรรจุน้ำทั้งบนดินและใต้ดินได้ไม่น้อยกว่า 37,800 ลูกบาศก์เมตร
มีพื้นที่ได้รับประโยชน์และพื้นที่ทางการเกษตร 160 ไร่
มีครัวเรือนที่ใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและการเกษตร ประมาณ 284 ครัวเรือน
จากนั้นในช่วงบ่าย คณะเดินทางได้ลงพื้นที่ศึกษาดูงานบริเวณฝายแกนดินซีเมนต์บ้านป่าซางคำ ได้พบกับนางยุพา คำแก้ว เกษตรกร ได้ให้ ข้อมูลว่า นับตั้งแต่ได้น้ำจากฝ่ายแกนดินซิเมนต์ ครอบครัวของตนปลูกมะเขือยาวสีม่วง จำนวน 1.2 ไร่ มีบริษัทมารับซื้อเพื่อส่งขายญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ โดยสามารถขายผลผลิตได้มากกว่า 60,000 บาท ใช้เงินลงทุนทั้งหมดประมาณ 18,000 บาท ซึ่งเมื่อก่อนพื้นที่ดังกล่าว ใช้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ใช้เงินลงทุนประมาณ 4,000 บาทขายผลผลิตได้ประมาณ 9,000 บาท เท่านั้น’
‘นอกจากนั้นเมื่อมีฝาย มีน้ำ มีความชุ่มชื้น ความสมดุลของระบบนิเวศก็คือกลับมา เช่น มีผักกูดขึ้นในลำน้ำ มีแมลงครั่งเกาะตามกิ่งต้นจามจุรี ซึ่งจะได้มีการขยายการเลี้ยงครั่งเพื่อเป็นรายได้อีกทางหนึ่งของเกษตรกรต่อไป’ นางยุพา คำแก้ว เกษตรกร กล่าวอย่างมีความสุข ด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใส
จากนั้นคณะได้เดินทางลงพื้นที่เยี่ยมชมฝายแกนดินซีเมนต์ บ้านแพทย์ หมู่ 2 ตำบลบ้านม่าน ซึ่งเป็นฝายแกนดินซีเมนต์ตัวที่ 4 ตัวล่าสุดของลำน้ำปี้
สังศิต พิริยะรังสรรค์ (ประธานคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำวุฒิสภา)